หน่วยที่ 5 การเข้าสาย RJ45

ประเภทของสาย UTP




สาย lan
สาย LAN หรือ สาย UTP คือ สายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า

Switch หรือ HUB (แต่เราสามารถเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน) สายแลนมีอยู่หลายประเภท แต่ละประเภทจะมีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณแตกต่างกันออกไป

สำหรับปัจจุบันสายแลนที่นิยมใช้กันมากคือ UTP (Unshield Twisted Pair) คือสายตีเกลียวที่ไม่มีตัวป้องกัน ส่วนหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายแลนเรียกว่า RJ45

UTP Cable ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์คือ Coaxial Cable, UTP CAT5, UTP CAT5e Cable, UTP CAT6 Cable และ UTP CAT7 Cable ซึ่งขีดความสามารถในการใช้งานก็จะแตกต่างกัน 

1. Coaxial Cable คือสายทองแดงที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วที่ต่ำ Maximum ของ Speed จะอยู่ที่ 10 Mbps ส่วนมากใช้ในระบบ BUS


2. UTP CAT5 คือสายทองแดงตีเลียวที่ใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วปานกลาง Maximum ของ Speed อยู่ที่ 100 Mbps ใช้ในระบบ Ring, Star และแบบผสม

3. UTP CAT5e Cable คือสายทองแดงตีเกลียวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วสูง Maximum ของ Speed อยู่ที่ 1 Gbps 

4. UTP CAT6 Cable คือสายทองแดงตีเกลียวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มี Maximum ของ Speed อยู่ที่ 10 Gbps Banwidth อยู่ที่ 250 MHz

5. UTP CAT7 Cable คือสายทองแดงตีเกลี่ยวที่นำมาใช้ในระบบ LAN ที่มีความเร็วสูง Maximum ของ Speed อยู่ที่ 10 Gbps Banwidth อยู่ที่ 600 MHz

เหล่านี้คือสายที่นำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันที่นิยมใช้และนำมาใช้กันมากที่สุดก็ คือ สาย CAT5e และ CAT6 เพราะในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงใช้ Switch ที่มีความเร็วอยู่ที่10/100/1000 Mbps ยังไม่มีใครที่ใช้เกินไปกว่านี้ อย่างเช่นส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมโรงงานและสถานที่บริการทั่วๆ ไปยังใช้ 10/100 Mbps และที่ใช้ 1 Gbps ก็จะเป็นหน่วยงานที่ต้องการความเร็วที่สูงและต้องการใช้ Aplication ที่เยอะ และความเที่ยงตรงสูงนั่นเอง เนื่องจาก File ที่ใช้งานจะมีขนาดใหญ่



สาย Lan STP 




สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก

สาย lan Coaxial 



COAXIAL CABLE (สายโคแอคเชียล) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆว่า "สายโคแอ็ค" ในปัจจุบันใช้เดินในงานระบบรักษาความปลอดภัย (SECURITY), ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (cctv),ระบบเคเบิ้ลทีวี(CATV), ทีวีรวม (TV,MATV)และระบบดาวเทียม(SATELLITE)สายโคแอคมีด้วยกันหลากหลายรุ่น และแต่ละรุ่นจะมีลักษณะภายนอกคล้ายกัน 


ซึ่งประอบไปด้วย 4 ส่วน ที่สำคัญดังนี้ 
1. CONDUCTOR ตัวนำสัญญาณภายในสุดส่วนมากจะเป็นแกนทองแดงทำหน้าที่นำสัญญาณจากอุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง

2. INSULATOR ฉนวนหุ้มตัวนำสัญญาณ มีส่วนช่วยในการลดทอนสัญญาณส่วนใหญ่จะเป็นโฟมหรือโพลิเอธิลีน(PE)

3. SHIELD เป็นโลหะหรือทองแดงถักหุ้มตลอดทั้งเส้น ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน และป้องกันการแพร่กระจายคลื่นสัญญาณออกมาภายนอก

4. JACKET เป็นส่วนที่ห่อหุ้มสายเพื่อป้องกันการถูกแทง ฉีกขาดของสายภายใน ถ้าใช้เดินภายในอาคารจะเป็น PVC ,ใช้ภายนอกอาคารจะเป็น PE และใช้แขวนเสาจะเป็น PE ที่มี Messenger


สาย Lan Fiber Optic




ายแก้วนำ(Fiber Optic Cable) คือ ายนำสัญญข้มูที่ใช้ลักกรทางสง กล่าวคือ ใช้กัสัญญาณข้มูที่ยู่นรูปของลื่เท่นั้นตัแก้นำทำจา แก้รือพสติก โดสัญาณข้มูลจถูกลี่นเป็นคลื่แล้วจึงส่ให้เดินทางสะท้ภาย ายแก้ เรื่อยไถึผู้รับทปายางายแก้ มีคุสมบัติที่ดีว่าายทั่หลายระ ช่ มีขนดเล็ ส่ผ่นข้มูลได้ครั้ะม สัญญาณข้มูมี ถูกลดทนน้มา  ทำห้สื่อมีประสิทธิาพะมีควมปลอภัข้จำกั คือ เมื่ายแก้ หักงอรืกหั จำเป็นตอ้อาศั อุณ์พิเศษรซ่ซม  ซึ่งยุ่ากแลมีค่ใช้จ่ายสูว่าบบอื่


 สายแลน UTP Cat5 และ Cat.6



สายแลน ชนิด Category 5e แบบ Unshielded twisted pair (UTP) cables เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกหรือ Shielded(ส่วนที่มี Shielded จะกล่าวในภายหลัง) สายชนิดนี้ เป็นสายที่มี จำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น และมีขนาดของแกนทองแดงขนาดที่ 24AWG (0.5 Squmm) ซึ่งมีการผลิตแกนทองแดงแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) ที่เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และ แบบ แกนทองแดงแบบฝอย(stranded conductor) ที่เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร หรือที่เรียกว่าสาย Patch cord ซึ่งจะสามารถบิดโค้ง งอ ได้มากกว่าสายชนิด แกนเดี่ยว(Solid) สายชนิดนี้จะมี Bandwidth สูงสุด 350MHz ในบางยี่ห้อมาตรฐานที่ 100MHz และ ความเร็วในการส่งสัญญาณที่ 100-1000Mbps หรือ Gigabit


สายแลน ชนิด Category 6 แบบ Unshielded twisted pair (UTP) cables เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกหรือ Shielded(ส่วนที่มี Shielded จะกล่าวในภายหลัง) สายชนิดนี้ เป็นสายที่มี แกนกลางสำหรับแบ่งแยกช่องสัญญาณทั้ง 4 คู่สายและมี จำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น เหมือนกับ Cat.5e แต่จะมีขนาดของแกนทองแดงที่ใหญ่กว่า ชนิด Cat5e อยู่ที่ขนาด 23AWG(0.65SQUMM) ซึ่งมีการผลิตแกนทองแดงทั้งแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) ที่เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และ แบบแกนทองแดงแบบฝอย(stranded conductor) ที่เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร หรือที่เรียกว่าสาย Patch cord ซึ่งจะสามารถบิดโค้ง งอ ได้มากกว่าสายชนิด แกนเดี่ยว(Solid) สำหรับสาย Cat.6 จะมี Bandwidth สูงสุดที่ 650 MHz หรือมาตรฐานอยู่ที่ 250Mhz และ ส่วนความเร็วสูงสุดในการส่งสัญญาณที่ Full speed 1000Mbps หรือ Full Gigabit



เราจะมีวิธีการดูและสังเกต หรือแยกแยะอย่างไร ว่าสายเส้นไหนเป็น Cat.5e หรือ Cat.6 
  • จุดสังเกต อันดับแรก คือ สายชนิด Cat5e ขนาดของเส้นรอบนอก จะเล็กกว่าสายชนิด Cat.6
  • สีของตัวสาย โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย สายชนิด cat.5e จะมีสีเทาและสีขาว ส่วนสายชนิด Cat.6 จะมีสีฟ้าหรือ น้ำเงินในบางยี่ห้อ
  • แกนทองแดง ของสายชนิด  Cat.5e จะมีแกนทองแดงที่เล็กกว่า ชนิด Cat.6
  • สาย Cat6 จะมีพลาสติกแกนกลาง ที่ขั้นระหว่างสายทั้ง 4 คู่ ส่วน สายชนิด Cat5e ไม่มี
  • อีกจุดสังเกตุด้านหน้าตัดของหัวคอนเน็คเตอร์ RJ45 Plug ตัวผู้จะมีวิธีสังเกตุดังนี้

              - Cat.5e หน้าตัด แกนกลางของสายจะเรียงกันแบบแนวนอน เสมอกัน
              - Cat.6 หน้าตัดจะ สลับฟันปลา ขึ้นลง ไม่เสมอกัน ดังแสดงที่รูปภาพ ด้านล่าง

สายสัญญาณ UTP Cat.5e จะผลิตตามมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-568-A โดยมี ความกว้างของช่องสัญญาณ (bandwidth) ที่ 100 MHz หรือ 350 MHz และ จะมีโค้ดสีในการเข้าสายแลน ตามมาตรฐาน TIA/EAI-568-A/B ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่หรือตามมาตรฐานของแต่ละองค์กรนั้น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รหัสสีแบบ TIA/EIA-568-B


เพราะการเข้า Code สีผิด ก็จะไม่สามารถใช้งาน ร่วมกับสายที่มีโค้ดสีแบบอื่นได้ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานภายในอาคารทั่วไป เช่น การนำไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์, เชื่อมต่อ Wireless หลายๆตัว, ระบบกล้อง IP camera, CCTV, Access control, PLC, BAS, Telephone หรือระบบที่เกี่ยวข้องกับ การเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย Ethernet LAN network ตามมาตรฐาน IEEE 802.3x ในทุกระดับของมาตรฐานการส่งสัญญาณ โดยจะแบ่งการใช้งานในย่านความถี่และความเร็วดังต่อไปนี้
  • ความเร็วในการส่งสัญญาณที่  10Mbps, 100Mbps, 1000Mbps, 10000Mbps
  • ความถี่ในการส่งสัญญาณ 100MHz, 250MHz, 350MHz,500MHz, 600M


แล้วจะเลือกใช้สาย Cat.5e และ Cat.6 กับ Application แบบใด ถึงจะเหมาะสม ทั้งคุณภาพและราคา

1.  สาย Cat5e ในระบบแลน(Ethernet LAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ WiFi ในปัจจุบัน ต้องบอกก่อนเลยว่า เริ่มจะล้าสมัยแล้วสำหรับสายชนิดนี้ เพราะเนื่องด้วยข้อจำกัด หลายๆอย่าง เช่น Speed อัตราการส่งผ่านข้อมูล ที่ได้สูงสุดที่ 1000Mbps หรือ Gigabit และ ช่องของสัญญาณ Bandwidth ที่ได้สูงสุดที่ 350MHz ทั้งๆที่สายชนิด Cat6 ทำได้ดีกว่ามาก ถึง 650MHz และความเร็วระดับ 10Gigabit และปัจุจบันมีถึง Cat8 ที่ความเร็ว support 25Gbps/ 40Gbs ที่ Bandwidth 2000Mhz


แต่ทั้งนี้ ก็ยังสามารถจะเลือกใช้สายชนิดCat5e ได้อีกสักระยะ เพราะเอาเข้าจริง ตามสำนักงาน หรือตามบ้าน หรือองค์กรบางแห่ง ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ทั่วไป เพราะความเร็วก็ยังสามารถตอบโจทย์การใช้งานแบบธรรมดาได้อยู่ดี ไม่ถึงกับช้าแต่ระดับองศ์กรที่เน้นระดับความเร็วสูงๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้สายแบบ UTP Cat.6 แทน เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่า เช่น การส่งภาพวีดีระดับ Full HD หรือองค์กรที่เน้น ตัดต่อภาพยนตร์ หรือหนัง หรือที่ทำกราฟฟิคดีไซด์, องค์กรที่เน้นระบบเกม ที่ต้องการความเร็ว และ หรือ ระบบ Data center ที่ให้บริการ โครงข่ายต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น จึงสมควรใช้งานสายเคเบิ้ลชนิด Cat.6 แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่า Cat.5e ตามไปด้วยนั่นเอง

2. สาย UTP Cat5e และ Cat.6 ในระบบ โทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) จะมีอยู่ 2 ระบบ แบบแรก คือ ระบบอนาล็อคธรรมดา แบบที่สอง คือ ระบบ HD-Analog TVI,AHD,CVI  ช่างหรือผู้ใช้งาน ก็สามารถเลือกใช้สายสัญญาณ ชนิด UTP cable Cat5e ทั้งชนิด ภายในอาคาร(Indoor) และ ภายนอกอาคาร (Outdoor) แทนสาย Coaxial cable ชนิด RG6 เพราะสามารถใช้ตัวแปลงสัญญาณ Balun ในการแปลงเพื่อต่อใช้งาน กับกล้องและตัวบันทึก (DVR/NVR) แถมใช้สายแลน Cat.5e ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับกล้อง IP ได้อีก หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ เพียงแต่แค่เปลี่ยนคอนเน็คเตอร์ปลายทางใหม่ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ประหยัดราคาได้มาก 

ส่วนจะเลือกใช้สาย Cat5e หรือ Cat.6 นั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ของแต่ละหน่วยงาน และ ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อใช้สายที่แพงขึ้น ให้คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป หรือเหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน  ถ้าเป็นกล้องระบบ IP Camera จึงเหมาะสมกว่าที่จะใช้งานสาย Cat.6 เพราะระบบนี้ต้องการความเร็วที่สูงมาก เนื่องจากความละเอียดของภาพมากขึ้นตามมานั่นเอง
3. สายแลน(UTP Cable) ทั้งชนิด Cat.5e และ Cat.6 สามารถใช้งานได้ในระบบ PLC(Programmable Logic Control ) ที่ปัจจุบันทำได้ถึงระดับ PAC (Programmable Automation Control ) อย่างเช่นModicon ต้นตำรับผู้คิดค้น การเชื่อมต่อแบบ Modbus ที่ยังคงสามารถใช้งานร่วมกับสายเคเบิ้ล Cat.5e และ Cat.6 ได้ ทุกระดับความเร็ว 10/100/1000Mbps ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบระบบ ที่ต้องการความเร็วเท่าไร ในการส่งผ่านข้อมูล ให้กับอุปกรณ์ปลายทางและต้นทางและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายเคเบิ้ล(Ethernet cable) ชนิดนี้ มีอีกมากมาย แล้วแต่การนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น Access control, Audio system, Lighting control เป็นต้น

การเข้าสาย RJ-45
คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้ มี 2 ชนิด  ได้แก่ 

1. หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ

2. หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณ



การเข้าหัว RJ 45 แบบสายตรง และ แบบสายไขว์

วิธีการเข้าหัวสายแลน ( RJ-45 )

การเข้าแบบสายตรง  เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB


แบบสายตรง
แบบสายไขว์
 1.ขาวส้ม
 1.ขาวเขียว
 2. ส้ม
 2.เขียว
 3. ขาวเขียว
 3.ขาวส้ม
 4. น้ำเงิน
 4.น้ำเงิน
 5. ขาวน้ำเงิน
 5.ขาวน้ำเงิน
 6. เขียว
 6.ส้ม
 7. ขาวน้ำตาล
 7.ขาวน้ำตาล
 8. น้ำตาล
 8.น้ำตาล






วิธีการเข้าหัวสายแลน

อุปกรณ์ที่ใช้งาน


1.  สาย CAT5 (สายแลน) ตามความยาวที่ต้องการ แต่ไม่ควรเกิน 100 m. 



2.  คีมเข้าหัว RJ-45







       3.   หัว RJ-45 ใช้สองหัว ต่อหนึ่งเส้น



4. อุปกรณ์วัดสัญญาณ



ขั้นตอนการเข้าหัว RJ45 กับสาย CAT5
   1.   ปลอกเปลือกนอกของสาย CAT5 ออก โดยห่างจากปลายสายประมาณ 2-3 cm.ใช้คัตเตอร์หรือมีด  
         ปลอกเปลือกที่มากับคริม




***ระวังอย่าให้สายข้างในขาด สายภายในจะเป็นเกรียวกันเป็นคู่ สี่คู่ สี่สี***



2. คลายเกรียวออกทั้งหมด



3.    เรียงสายตามลำดับใหม่ และรีดสายให้ตรง เพื่อง่ายต่อการเข้าหัว RJ45 ดังนี้หากต้องการทำสายตรง (ใช้
       สำหรับเครื่องคอมไป Hub)ให้เรียงสีดังนี้ทั้งสองข้าง
 
ขาวส้ม- ส้ม- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- เขียว- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล


          ส่วนสายครอส ให้เรียงตามนี้ข้างหนึ่ง (สำหรับต่อคอมกับคอม) ดังนี้
        ข้างที่ 1 ขาวเขียว ส้ม ขาวส้ม ฟ้า ขาวฟ้า เขียว ขาวน้ำตาล น้ำตาล
        ข้างที่ 2 ขาวส้ม- เขียว- ขาวเขียว- ฟ้า- ขาวฟ้า- ส้ม- ขาวน้ำตาล -น้ำตาล



 4.    หลังจากเรียงสายเรียบร้อยแล้ว จับสายที่เรียงให้แน่น อย่าให้สลับ
   แล้วสอดเข้าหัว RJ-45 ให้สุดปลอก



      5. นำสายพร้อมปลอกเข้าคีมแล้วบีบให้มีเสียงคลิก 


    6.  หลังจากที่เราเข้าหัว RJ 45 กับสายแลนเสร็จแล้ว ให้นำมาทดสอบกับอุปกรณ์วัดสัญญาณ
สังเกตสัญญาณไฟ ถ้าต่อแบบตรงสัญญาณไฟจะตรงกันทั้งหมด 8 ช่อง หากสัญญาณไฟช่องใดสลับกันแสดงว่ามีหัว RJ 45 ด้านใดด้านหนึ่งเข้าหัวผิด (สลับสาย) ต้องตัดหัว RJ 45 ที่เข้าหัวผิด แล้วทำการเข้าหัว RJ 45 ใหม่



เข้าหัว RJ 45 แบบสายตรงที่เสร็จสมบูรณ์                                    เข้าหัว RJ 45 แบบไขว์แบบสมบูรณ์


                                  

การต่อสาย LAN
ข้อแนะนำในการติดตั้งสาย UTP มีดังนี้
1. ไม่ควรหักงอสายเนื่องจากป้องกันคลื่นรบกวนได้ไม่ดีพอ 
2. อย่าม้วนสายเป็นขดๆ มากกว่า 10 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย เนื่องจากจะเกิดสัญญารบกวนกันเอง และไม่ควรเดินสาย UTP นอกอาคารเนื่องจากป้องกันไฟสถิตไม่ได้ 
3.  ควรต่อสาย UTP กับ RJ-45 ให้ถูกตำแหน่งที่มีอยู่ทั้งหมด 8 เส้น ดังตารางช่องใน RJ-45 สีของสาย UTP
4.  ในการคลายสายที่ตีเกลียวออก ก่อนที่จะเข้าหัวสาย RJ-45 ควรจะคลายออกให้น้อยที่สุด
5.  ให้ใช้สายเส้นเดียวกันตลอดการเดินใน 1 จุด (ห้ามนำสายมาต่อกัน) 
6.  ในการต่อฮับมากกว่า 1 ตัว สาย UTP ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างฮับจะต้องมีความยาวไม่เกิน 100 เมตร และใน 1 Data Patch จะต้องมีฮับไม่เกิน 4 ตัว
7.  ขณะเดินสายควรทำเครื่องหมายระบุหมายเลขไว้ด้วยที่ต้นสายและปลายสาย มิฉะนั้นอาจสลับสายกันทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้
8.  อย่าเดินสายใกล้กับแหล่งจ่ายไฟ หรือบริเวณที่มีสัญญาณรบกวน เช่น มอเตอร์ หม้อแปลงไฟ สายไฟบ้าน เป็นต้น แต่หากจำเป็นต้องเข้าใกล้สายดังกล่าว ให้เดินห่างจากสายสัญญาณมากกว่า 6 ฟุต
 9.  เมื่อเดินสายสัญญาณเรียบร้อยแล้ว ควรจะวาดเส้นทางการเดินสายสัญญาณเก็บไว้ด้วย


การเข้าหัว RJ45 สาย CAT6











การเข้าหัว RJ45 สาย CAT6 ด้วยหัว RJ45 cat5